ภาษามลายู (มลายู: Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552)[2] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
คำในภาษามลายูก็เหมือนคำในภาษาอื่นๆ ของโลกที่ต่างมีคำหลากหลายชนิดในภาษาของตนเอง ซึ่งในการสร้างประโยคหนึ่งขึ้นมานั้น ก็จะต้องอาศัยคำเหล่านี้ในการประติประต่อเป็นประโยคหนึ่งเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยแต่ละคำก็จะมีหน้าที่และวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติแต่เดิมของคำชนิดนั้นๆ
จากชนิดคำข้างต้นนี้ สามคำแรกอันได้แก่ Kata Nama, Kata Adjektif และ Kata Kerja นั้น เป็นคำที่เมื่ออยู่โดดๆ ก็มีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว
ส่วนคำที่เหลือนั้นเป็นคำที่มิอาจอยู่โดดๆ โดยมีความหมายสมบูรณ์ในตัวได้ แต่จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางความหมายของประโยคหนึ่งๆ ได้ เพราะฉะนั้น Kata Sendi, Kata Keterangan, Kata Hubung, Kata Seru และ Kata Sandang จึงถูกอยู่อยู่ในชนิด Kata Tugas หรือ "คำหน้าที่"นั่นเอง
จากชนิดคำข้างต้นนี้ สามคำแรกอันได้แก่ Kata Nama, Kata Adjektif และ Kata Kerja นั้น เป็นคำที่เมื่ออยู่โดดๆ ก็มีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว
ส่วนคำที่เหลือนั้นเป็นคำที่มิอาจอยู่โดดๆ โดยมีความหมายสมบูรณ์ในตัวได้ แต่จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางความหมายของประโยคหนึ่งๆ ได้ เพราะฉะนั้น Kata Sendi, Kata Keterangan, Kata Hubung, Kata Seru และ Kata Sandang จึงถูกอยู่อยู่ในชนิด Kata Tugas หรือ "คำหน้าที่"นั่นเอง
สืบค้นเมื่อวันที่ 25/08/2560 จาก เว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9
เว็บไซต์ http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=9225.0
เว็บไซต์ http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=9225.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น