วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

หลักไวยากรณ์ เบื้องต้น

ภาษามลายู

ภาษามลายู (มลายูBahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไนมาเลเซียสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552)[2] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกากลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
 คำในภาษามลายูก็เหมือนคำในภาษาอื่นๆ ของโลกที่ต่างมีคำหลากหลายชนิดในภาษาของตนเอง ซึ่งในการสร้างประโยคหนึ่งขึ้นมานั้น ก็จะต้องอาศัยคำเหล่านี้ในการประติประต่อเป็นประโยคหนึ่งเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยแต่ละคำก็จะมีหน้าที่และวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติแต่เดิมของคำชนิดนั้นๆ 
          จากชนิดคำข้างต้นนี้ สามคำแรกอันได้แก่ Kata Nama, Kata Adjektif และ Kata Kerja นั้น เป็นคำที่เมื่ออยู่โดดๆ ก็มีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว

          ส่วนคำที่เหลือนั้นเป็นคำที่มิอาจอยู่โดดๆ โดยมีความหมายสมบูรณ์ในตัวได้ แต่จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางความหมายของประโยคหนึ่งๆ ได้ เพราะฉะนั้น Kata Sendi, Kata Keterangan, Kata Hubung, Kata Seru และ Kata Sandang จึงถูกอยู่อยู่ในชนิด Kata Tugas หรือ "คำหน้าที่"นั่นเอง

ฉะนั้น ชนิดคำหลักๆ ก็จะประกอบไปด้วยดังนี้ 

          1.)
 Kata Nama (คำนาม)
 2.) Kata Adjektif (คำคุณศัพท์)
 3.) Kata Kerja (คำกริยา)
          4.) Kata Tugas (คำหน้าที่)

1.) Kata Nama (คำนาม)

            หมายถึง คำที่ใช้เรียกสิ่่งๆ หนึ่ง ทั้งที่อยู่สภาพที่เป็นรูปธรรม (Konkrit) และนามธรรม (Abstrak) หรือมีชีวิต (Hidup) และไม่มีชีวิต (Tak Hidup) ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เรียกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งดังต่อไปนี้
            ในภาษาไทยจะเรียกคำชนิดนี้ว่า “คำนาม” นั่นเอง นอกจากนี้ Kata Nama ยังถือเป็นส่วนหลักของประโยคอีกด้วย เช่น



1. คำนามทั่วไป (Kata nama am) คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เเละสถานที่อย่างรวมๆ ทั่วไป เช่น Orang(คน) Datuk(ปู่) Harimau(เสือ) Hospital(โรงพยาบาล) Sudu(ช้อน)
เช่นKucing, Comel  แมวน่ารัก


2.คำนามเฉพาะ (Kata nama khas) คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เเละสถานที่อย่างเจาะจง เช่น

Sekolah Tha-it suksa(โรงเรียนท่าอิฐศึกษา)  Hospital Phra nang klao(โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า)

Kampung Tha-it(หมู่บ้านท่าอิฐ)
เช่นRumah itu milik saya.             
   (บ้านหลังนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของฉัน)


3.คำสรรพนาม (Kata ganti nama) คือ คำที่ใช้เเทนนามหรือเเทนสิ่งๆหนึ่ง  เเบ่งได้ 3 ประเภท คือ

3.1 บุรุษสรรพนาม(Kata ganti nama diri) คือ คำสรรพนามที่ถูกใช้เพื่อเเทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งๆหนึ่ง

ตัวอย่าง Saya(ฉัน) Aku(ผม) Ana(ข้าพเจ้า) Anda(คุณ) Awak(เธอ) Dia(เขา) Ia(มัน)  Beliau(ท่าน) Kami(พวกเรา) Mereka(พวกเขา) Kzmu(พวกเธอ) Kita(เรา)

3.2 นิยมสรรพนาม (Kata ganti nama tunjuk) หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้เเทนคำนามเพื่อบ่งบอกตำเเหน่งหรือสถานที่ตัึ้ง หรือที่อยู่ของคำนามนั้นๆ คำนิยมสรรพนาม ได้เเก่ Ini(นี่ นี้) Itu(นั่น นั้น) Sini(ที่นี่) Situ(ที่นั่น) Sana(ที่โน่น)

3.3 ปฤจฉา่สรรพนาม (Kata ganti nama diri tanya) หมายถึง สรรพนามเเสดงคำถาม ได้เเก่ Apa(อะไร) Siapa(ใคร) Bila(เมื่อไหร่) Bagaimana(อย่างไร) Mana(ที่ไหน) Berapa(เท่าไหร่)

           

           2.Kata Kerja  (คำกริยา)


คือคำที่บ่งบอกถึงการกระทำหนึ่งๆที่ทำขึ้นโดยผู้กระทำหนึ่งๆ คำกริยามี 2 ชนิดคือ

1. สหกรรมกริยา กล่าวคือคือคำกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ อาทิ makan (กิน) minum (ดื่ม) baca (อ่าน) tulis (เขียน) เป็นต้น
เช่น  - Sai makan bihun goreng itu.
         ทรายกินหมี่ผัด

        - Pakaian dicuci oleh emak Laila setiap hari.
          เสื้อผ้าจะถูกซักโดยแม่ไลลาทุกวัน

 2. อกรรมกริยา กล่าวคือคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ เช่น mandi (อาบน้ำ) berjalan (เดิน) tidur (นอน) bersenam (ออกกำลังกาย) เป็นต้น
              
เช่น - Anjing itu sedang tidur.
       สุนัขกำำลังนอนหลับอยู่
   
        -Mereka menjalankan jentera itu.
       พวกเขาใช้เครื่องจักร

ประวัติภาษามลายู (Sejarah Bahasa Melayu)

ภาษามลายู

ภาษามลายู (มลายูBahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไนมาเลเซียสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552)[2] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกากลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
 คำในภาษามลายูก็เหมือนคำในภาษาอื่นๆ ของโลกที่ต่างมีคำหลากหลายชนิดในภาษาของตนเอง ซึ่งในการสร้างประโยคหนึ่งขึ้นมานั้น ก็จะต้องอาศัยคำเหล่านี้ในการประติประต่อเป็นประโยคหนึ่งเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยแต่ละคำก็จะมีหน้าที่และวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติแต่เดิมของคำชนิดนั้นๆ 
          จากชนิดคำข้างต้นนี้ สามคำแรกอันได้แก่ Kata Nama, Kata Adjektif และ Kata Kerja นั้น เป็นคำที่เมื่ออยู่โดดๆ ก็มีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว

          ส่วนคำที่เหลือนั้นเป็นคำที่มิอาจอยู่โดดๆ โดยมีความหมายสมบูรณ์ในตัวได้ แต่จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางความหมายของประโยคหนึ่งๆ ได้ เพราะฉะนั้น Kata Sendi, Kata Keterangan, Kata Hubung, Kata Seru และ Kata Sandang จึงถูกอยู่อยู่ในชนิด Kata Tugas หรือ "คำหน้าที่"นั่นเอง


    
 สืบค้นเมื่อวันที่ 25/08/2560 จาก          เว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9

เว็บไซต์  http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=9225.0

Fasa (วลี)

Fasa ( วลี)   กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป   แต่ขาดประธานหรือขาดกริยา   จึงยังไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์    เพราะองค์ประกอบท...