วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Fasa (วลี)




Fasa (วลี) 

กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป  แต่ขาดประธานหรือขาดกริยา  จึงยังไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์   เพราะองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของประโยคนั้นต้องประกอบด้วยทั้งประธานและกริยา หนึ่งของประโยค  ซึ่งก็คือ  มันจะไปทำหน้าที่ในส่วนของประธาน  กริยา  กรรม หรือส่วนเติมเต็ม  หรือทำหน้าที่ขยายกริยา  ขยายคำนามก็ยังได้

ประเภทของวลี

1.fasa nama (
นามวลี)

นามวลี   คือ คำที่มีหน้าที่เป็นโครงสร้างประโยค ประกอบด้วย 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยประธาน + หน่วยภาคแสดง (ที่ไม่มีกริยา) + หน่วยกรรม และ หน่วยส่วนขยาย ลักษณะนามวลีที่ต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน คือ นามวลีที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยภาคแสดง กล่าวคือ นามวลีที่ปรากฏใน ภาคแสดงในภาษามลายูมักเป็นนามวลีที่ปรากฏตามลำพังโดยไม่มีส่วนกริยานำหน้า 


ตัวอย่าง

1.Bapa  saya guru sekolah agama.
พ่อของฉันเป็นครูโรงเรียนศาสนา

2.Kakak saya memilih yang merah itu. 
พี่สาวของฉันเลือกสีแดงนั้น

นอกจากนี้ นามวลีที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายก็เช่นเดียวกัน เป็นนามวลีที่สามารถปรากฏ
ได้ทันทีหลังจากคำบุพบทที่อาจทำหน้าที่แทนกริยาในทำนองประโยคที่ละส่วนกริยา

ตัวอย่าง

1.Hadiah ini kepada ibunya
ของขวัญชิ้นนี้มอบแก่แม่ของเขา



2.fasa k
erja (กริยาวลี)

กริยาวลี  ในภาษามลายูมักจะไม่ปรากฏคำกริยาอื่นอีกตามหลังส่วนขยายของกริยานั้นๆ นอกเสียจากจะต้องมีคำบุพบทหรือคำเชื่อมเพื่อขยายกริยาวลีให้เป็นวลีที่ยาวขึ้น ในขณะที่กริยาวลีในภาษาไทย พบว่าในบางกริยาวลียังมีคำกริยาอื่นอีก เพื่อขยายให้กริยา วลีหลักนั้นสมบูรณ์ สังเกตตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง

1.Tolong belikan saya seekor ayam. 
กรุณาซื้อไก่ให้ฉันหนึ่งตัว

นอกจากนี้กริยาวลีรูปเน้นกรรม แบ่งออกเป็น

- กริยาวลีเน้นรูปกรรม บุรุษที่ 1
- กริยาวลีเน้นรูปกรรม บุรุษที่ 2
- กริยาวลีเน้นรูปกรรม บุรุษที่ 3

1.กริยาวลีรูปเน้นกรรม บุรุษที่ 1 คือ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยาซึ่งไม่มีคำอุปสรรคนำหน้า แต่นำหน้าด้วยบุรุษที่ 1 เช่น  aku, kami, kita, saya dan sebagainya.

2.กริยาวลีเน้นกรรมบุรุษที่ 2 คือ วลีที่ประกอบคำกริยาที่ไม่มีคำอุปสรรค men นำหน้า แต่นำหน้าด้วยบุรุษที่ 2  เช่น anda, awak, kamu dan sebagainya.

3.กริยาวลีรูป pasif บุรุษที่ 3 คือ วลีที่ประกอบด้วยคำกริยาที่มี Di นำหน้าและตามด้วยบุพบทวลี เช่น           ( oleh + frasa nama ) คำว่า oleh ในบุพบทวลีนั้นสามารถละได้
รูปกริยาวลีเน้นกรรมบุรุษที่ 1 ไม่สามารถใชเหมือนกับกริยาวลีเน้นกรรมบุรุษที่ 3

- กริยาวลีที่ทำหน้าเป็นหน่วยกริยากรรมวาจกนับเป็นกริยาวลีที่มักนิยมใช้กันบ่อยมากในภาษามลายู ทั้งนี้หากเทียบกับภาษาไทย พบว่ามักนิยมใช้กริยาวลีประเภทกริยา กรรตุวาจกเสียส่วนใหญ่ ข้อสังเกตสำหรับการใช้วลีชนิดนี้ในภาษามลายู คือ กริยาที่จะผันรูปเป็น กริยากรรมวาจกนั้นต้องเป็นกริยา สกรรมเสมอ หากเป็นกริยาอกรรม ต้องแปลงรูปให้เป็นกริยาสกรรม เสียก่อน ดังที่กล่าวมาแล้วในการจำแนกหมวดคำ
โดยการสร้างประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน+กริยา+กรรม เช่น คำว่า tidur  (นอน) แปลงรูป
เป็นกริยาสกรรมก็จะเป็น menidurkanทำให้นอนหลับ ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้

ตัวอย่าง

1.Kakak tidur.  
พี่สาวนอน

Kakak  menidurkan  adiknya.
พี่สาวทำให้น้องเขาหลับ



3.FRASA  ADJEKTIF (คุณศัพท์วลี)

วลีที่ทำหน้าที่ อธิบายและบ่งบอกลักษณะ (Frasa adjektif iailah frasa yang menerangkan sifat dengan sekurang-kurangnya mempunyai satu perkataan dengan kata sifat sebagai intinya.)

หน้าที่
1. ทำหน้าที่ให้กับนามวลีและคุณศัพท์วลี 
    (Sebagai predikat dalam ayat yang mempunyai pola FN+FA.)

ตัวอย่าง

1. Kemeja baru saya merah.
  เสื้อตัวใหม่ของฉันสีแดง
 
2.Kemeja merah baru saya.
  เสื้อแดงตัวใหม่ของฉัน
 

2.ทำหน้าที่ขยายคำกริยา จะปรากฏหังคำกริยา 
   (Menjadi unsur keterangan dalam kata kerja.)


ตัวอย่าง

1.Menanggung yang sangat kecil.
   หมีตัวเล็กมาก
    
2.Mali berlari tangkas.
   มะลิวิ่งได้ว่องไวมาก


3. จะปรากฏหลังคำนาม (Mwnjadi unsur penerang dalam konstituen predikat.)

ตัวอย่าง


1.Pasir adalah kanak-kanak yang comel.
   ทรายเป็นเด็กน่ารัก

 2.Nan berpakaian skirt krim.
    แนนใส่กระโปรงสีครีม


4.FRASA  SENDI  NAMA  (บุพบทวลี)

 บุพบทวลี คือวลีที่ประกอบด้วยคำบุพบทและคำนาม 

(Frasa sendi nama iailah frasa yang terdiri daripada satu kata sendi nama 
dan diikuti oleh satu frasa nama yang menjadi pelengkap.)

หน้าที่

1. เป็นภาคแสดงของนามวลีและบุพบทวลี 
    (Sebagai predikat dalam pola ayat FN+FSN.)

ตัวอย่าง


1.Seorang wanita muda datang dari Malaysia.
    หญิงสาวคนนั้นมาจากประเทศมาเลเซีย    
2.Gelang ini adalah adik saya.
   กำไลอันนั้นเป็นของน้องสาวฉัน


2.เป็นส่วนขยายให้กับนามวลี กริยาวลี 
   (Sebagai unsur keterangan kepada frasa kerja frasa nama.)

ตัวอย่าง

 1.Saya bersekolah pada pukul 8 pagi.
    ฉันไปโรงเรียน 08.00 น.(บอกเวลา) 

2.Ibu menyapu sampah di dapur.
    แม่กวาดขยะอยู่ในครัว (บอกสถานที่)
  

Fasa (วลี)

Fasa ( วลี)   กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป   แต่ขาดประธานหรือขาดกริยา   จึงยังไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์    เพราะองค์ประกอบท...